top of page

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ (Author Ethical Responsibilities)

  1. บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนและไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น

  2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ซึ่งเน้นการเผยแพร่งาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังฤษที่เกี่ยวกับ  การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  โดยรายงานผลการศึกษาอย่างตรงไปตรงมาไม่บิดเบือนข้อมูล

  3. บทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

  4. ผู้เขียนต้องให้รายละเอียดของผู้นิพนธ์และแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยและการสร้างสรรค์ผลงาน

  5. ผู้เขียนต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานเหล่านั้นมาใช้ในบทความของตัวเอง เช่น ภาพ ตาราง เป็นต้น

  6. ผู้เขียนต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา

  7. ผู้เขียนบทความจะต้องปรับบทความตามรูปแบบและขนาดตัวอักษรตามแบบฟอร์ม (template) ของวารสาร

  8. ผู้เขียนที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการบทความจริง

  9. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และ/หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ

  10. ผู้เขียนไม่ควรนำเอกสารวิชาการที่ไม่ได้อ่านมาอ้างอิง หรือใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิง และควรอ้างอิงเอกสารเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่มากจนเกินไป

  11. การกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในกิตติกรรมประกาศนั้น หากสามารถทำได้ผู้เขียนบทความควรขออนุญาตจากผู้ที่ผู้เขียนประสงค์จะขอบคุณเสียก่อน

  12. ในบทความผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลเท็จ หรือการปลอมแปลง บิดเบือน รวมไปถึงการตกแต่ง หรือ เลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป

  13. ผู้เขียนจะต้องรับฟังคำแนะนำของผู้ประเมินบทความและกองบรรณาธิการเพื่อการพัฒนาบทความให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตามผู้นิพนธ์สามารถอธิบายและชี้แจงเหตุผลในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขดังกล่าว

  14. ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมและมารยาทของนักวิจัยและนักวิชาการในการเผยแพร่ผลงานซึ่งบทความที่นำเสนอจะต้องเป็นผลงานใหม่ที่ไม่ผ่านการตีพิมพ์มาก่อนหรือเป็นผลงานที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น

  15. กรณีที่ผลงานเป็นการศึกษาวิจัยและทำการทดลองในคนหรือสัตว์ทดลอง โดยการทดลองในคนอาจส่งผลกระทบต่อศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสุขภาวะของคน ขอให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์ทดลอง ทั้งนี้ การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

bottom of page